PDPA อะไร ยังไง ตอนที่2 ตัวละครที่เกี่ยวข้องและหน้าที่รับผิดชอบ

Posted by pryn on วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 0

ผู้เขียน ปริญญ์ เสรีพงศ์ CISA CEH ISMS(IRCA)

Email : mr.pryn@gmail.com

 

ในการปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 หรือ PDPA นั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลักๆ อยู่ 3 ฝ่าย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีสิทธิ และหน้าที่เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจน ดังนี้




เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)

เราๆท่านๆนี่แหละเป็นเจ้าของข้อมูลที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยการกรอกแบบฟอร์มต่างๆนาๆในการติดต่อหรือขอใช้บริการหน่วยราชการ  รวมถึงการทำธุรกรรมกับห้างร้านหรือสถาบันการเงินต่างๆ ด้วย


ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)

คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)

คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ได้แก่

- สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification) 

- สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)

- สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)

- สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) เมื่อมีเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง

- สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) เมื่อมีเจ้าของข้อมูลต้องการข้อมูลของตนเอง

- สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)

- สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล (right to be forgotten) 


หน้าที่ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller)

   หน้าที่ภายในองค์กร

- มีมาตรการเชิงเทคนิคและเชิงบริหารจัดการเพื่อประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย 

- มีมาตรการเชิงเทคนิคและเชิงบริหารจัดการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประมวลผลที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

- มีระบบการตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษา หรือที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น 

- ตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) กรณีเข้าข่ายที่ต้องมี DPO

- ประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) 

- เลือกผู้ประมวลผลข้อมูลที่มีมาตรการเชิงเทคนิคและเชิงบริหารจัดการที่เหมาะสมในการประมวลผลและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

- จัดให้มีข้อตกลงกับผู้ประมวลผลข้อมูล เพื่อควบคุมให้ผู้ประมวลผลข้อมูลดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ถ้ามี) 

- ถ้ามีการโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศต้องทาให้ถูกต้องตามกฎหมาย 

- ป้องกันมิให้บุคคลที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่มิใช่ผู้ควบคุมข้อมูลอื่นใช้หรือเปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ

หน้าที่ต่อบุคคลภายนอกองค์กร

- แจ้งเจ้าของข้อมูล 

- แจ้งเหตุแก่ผู้กากับดูแลหรือเจ้าของข้อมูลเมื่อมีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล (Data Breach) 

- ตั้งตัวแทนในราชอาณาจักร (กรณีเป็นผู้ควบคุมข้อมูลที่อยู่นอกราชอาณาจักร) 

- เก็บบันทึกรายการประมวลผลข้อมูล 


หน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor)

หน้าที่ภายในองค์กร

- มีมาตรการเชิงเทคนิคและเชิงบริหารจัดการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประมวลผลที่เหมาะสมกับความเสี่ยง เพื่อป้องกันการสูญหาย การประมวลผลโดยปราศจากอานาจ หรือ โดยมิชอบ 

- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) กรณีเข้าข่ายที่ต้องมี DPO

หน้าที่ต่อบุคคลภายนอก

- ประมวลผลข้อมูลตามข้อตกลงระหว่างผู้ควบคุมและผู้ประมวลผลข้อมูล 

- แจ้งเหตุแก่ผู้ควบคุมข้อมูลกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล (Data Breach) 

- แจ้งผู้ควบคุมข้อมูลในกรณีที่เห็นว่ามีทางเลือกในการประมวลผลที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงกว่า 

- ตั้งตัวแทนในราชอาณาจักร (กรณีเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลที่อยู่นอกราชอาณาจักร) 

- เก็บบันทึกรายการประมวลผลข้อมูล 



Reference : Thailand Data Protection Guidelines 2.0


ติดตามบทความ PDPA อะไร ยังไง ในตอนต่อไปได้เร็วๆนี้ครับ

About the Author

Write admin description here..

Get Updates

Subscribe to our e-mail newsletter to receive updates.

Enter your email address:

Delivered by FeedBurner

Share This Post

Related posts

0 ความคิดเห็น :

back to top